เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 2. ปัญจัตตยสูตร

เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ หมวดละ 4

[24] ภิกษุทั้งหลาย ในเนวสัญญีนาสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจาก
ตายแล้ว คือ
1. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ซึ่งมีรูปว่ายั่งยืน
หลังจากตายแล้วบ้าง
2. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ซึ่งไม่มีรูปว่ายั่งยืน
หลังจากตายแล้วบ้าง
3. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ทั้งที่มีรูปและไม่มี
รูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
4. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีรูปก็มิใช่ ไม่มี
รูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
ในเนวสัญญีนาสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ
พวกหนึ่งคัดค้านสมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตาย
แล้วเหล่านั้น คัดค้านแม้สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่า
ยั่งยืนหลังจากตายแล้วเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสัญญาเป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร ความไม่มีสัญญาเป็น
ความหลง ความมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่นี้แล สงบ ประณีต
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา
ก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้ว คือ
1. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ซึ่งมีรูปว่ายั่งยืน
หลังจากตายแล้วบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :33 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 2. ปัญจัตตยสูตร

2. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ซึ่งไม่มีรูปว่ายั่งยืน
หลังจากตายแล้วบ้าง
3. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ ทั้งที่มีรูปและไม่มี
รูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
4. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ มีรูปก็มิใช่ ไม่มี
รูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งบัญญัติการเข้าถึงอายตนะ1
นี้ ด้วยเหตุเพียงสิ่งที่พึงรู้แจ้ง2โดยได้เห็นได้ยินและได้ทราบสังขาร3 การบัญญัติ
ของสมณะหรือพราหมณ์เช่นนี้ เขากล่าวว่าเป็นความพินาศของการเข้าถึงอายตนะนี้
ความจริงอายตนะนี้ บัณฑิตไม่กล่าวว่าพึงบรรลุด้วยการมีสังขาร แต่ท่านกล่าวว่า
อายตนะนี้พึงบรรลุด้วยการมีสังขารที่เหลือ4
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

อุจเฉทวาทะ

[25] ภิกษุทั้งหลาย ในอุจเฉทวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้นของสัตว์ที่มีอยู่
ในอุจเฉทวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีอุจเฉทวาทะพวกหนึ่งคัดค้าน
สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วเหล่านั้น