เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 9. พาลปัณฑิตสูตร

เหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้ง 5
ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ
เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น ออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้
หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบ
กระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัว
ด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอน
บนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้นไม่มีในเรา และ
เราก็ไม่ปรากฏในธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ 2 นี้ในปัจจุบัน
[255] อีกประการหนึ่ง ในสมัยนั้น กรรมดีที่บัณฑิตทำ คือ การประพฤติ
กายสุจริต การประพฤติวจีสุจริต การประพฤติมโนสุจริตไว้ในกาลก่อน ย่อม
คุ้มครอง ป้องกันบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้น
เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขาใหญ่ ย่อมบดบัง ครอบคลุมแผ่นดินใหญ่
ในเวลาเย็น แม้ฉันใด กรรมดีที่บัณฑิตทำ คือ การประพฤติกายสุจริต การ
ประพฤติวจีสุจริต การประพฤติมโนสุจริตไว้ในกาลก่อน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
คุ้มครอง ป้องกันบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น
ในเรื่องนั้น บัณฑิตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราไม่ได้ทำความชั่วไว้หนอ ไม่ได้
ทำกรรมหยาบช้าไว้ ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมองไว้ เราทำแต่ความดี ทำแต่กุศล
ทำแต่ที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ เราตายแล้วจะไปสู่คติของผู้ไม่ได้ทำความชั่วไว้ ไม่ได้
ทำกรรมหยาบช้าไว้ ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมองไว้ ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล ทำแต่
ที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้’ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ
ไม่ถึงความหลงไหล
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ 3 นี้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นยังประพฤติกายสุจริต ประพฤติวจีสุจริต ประพฤติ
มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :301 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 9. พาลปัณฑิตสูตร

ถูกต้อง พึงกล่าวถึงสวรรค์นั่นแหละว่า ‘เป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
โดยส่วนเดียว’ ภิกษุทั้งหลาย แม้การเปรียบเทียบว่าสวรรค์เป็นสุขก็ไม่ใช่ทำ
ได้ง่าย”
[256] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงอุปมาได้อีกหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “เปรียบเหมือนพระเจ้า
จักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ และฤทธิ์(ความสำเร็จ) 4 ประการ
เพราะความสมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ และฤทธิ์ 4 ประการนั้นเป็นเหตุ
พระเจ้าจักรพรรดินั้นจึงเสวยสุขโสมนัส
พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ เป็นอย่างไร
คือ จักรแก้วอันเป็นทิพย์มีกำ 1,000 ซี่ มีกง มีดุม และส่วนประกอบ
ครบทุกอย่าง ย่อมปรากฏแก่กษัตราธิราชในโลกนี้ผู้ทรงได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรง
สนานพระเศียร ในวันอุโบสถ 15 ค่ำ รักษาอุโบสถ ประทับอยู่ชั้นบน
ปราสาทหลังงาม กษัตราธิราชผู้ทรงได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ครั้นทอดพระเนตรแล้ว
ได้มีพระราชดำริว่า ‘เราได้ฟังเรื่องนี้มาว่า ‘จักรแก้วอันเป็นทิพย์มีกำ 1,000 ซี่ มีกง
มีดุม และส่วนประกอบครบทุกอย่าง ย่อมปรากฏแก่กษัตราธิราชพระองค์ใดผู้ทรง
ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงสนานพระเศียร ในวันอุโบสถ 15 ค่ำ รักษาอุโบสถ
ประทับอยู่ชั้นบนปราสาทหลังงาม กษัตราธิราชพระองค์นั้นย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ’
เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิกระมัง’
ลำดับนั้น กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วทรงลุกจากที่ประทับ พระหัตถ์
เบื้องซ้ายทรงจับพระภิงคาร(พระน้ำเต้า) พระหัตถ์เบื้องขวาทรงชูจักรแก้ว ขึ้นตรัสว่า
‘จักรแก้วอันประเสริฐจงหมุนไป จงได้ชัยชนะอันยิ่งใหญ่’ ทันใดนั้นจักรแก้วนั้นก็
หมุนไปทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จตามไป
เสด็จเข้าพักแรมพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาในประเทศที่จักรแก้วหยุดอยู่ พระราชา
ทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออกพากันเสด็จมาเฝ้า แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :302 }