เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 1. เทวทหสูตร

‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทราบหรือว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้
สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้สลายไป หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้
สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทราบการละอกุศลธรรมและการ
บำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบันหรือ’
‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’
[2] ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายไม่ทราบดังนี้ว่า ‘เรา
ทั้งหลายได้มีแล้วในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’
ไม่ทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’
ไม่ทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’
ไม่ทราบว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้สลายไป
หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
ท่านทั้งหลายไม่ทราบการละอกุศลธรรมและการบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงไม่ควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข
บ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้
ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้
อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป
เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนา
สิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้มีแล้ว
ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’
พึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’
พึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :3 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 1. เทวทหสูตร

พึงทราบว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้
สลายไป หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
ท่านทั้งหลายพึงทราบการละอกุศลธรรมและการบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน1
เมื่อเป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวย
สุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่
ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตก
อยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรม
จึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป
เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
[3] นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ
อย่างร้ายแรง เพราะเหตุแห่งการถูกลูกศรแทง บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า
เผ็ดร้อน มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต2ของเขาจึงหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอ
ผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผลของบุรุษนั้น เพราะเหตุแห่งการใช้มีดผ่าปากแผล บุรุษ
นั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นจึงใช้เครื่องมือตรวจหาลูกศร
(ในแผล)ของเขา เพราะเหตุแห่งการตรวจหาลูกศร บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนา
กล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นจึงถอนลูกศรออก เพราะเหตุแห่งการถอนลูกศรออก
บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล
เพราะเหตุแห่งการใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน
ต่อมา เพราะบาดแผลหาย มีผิวหนังเรียบสนิท บุรุษนั้นจึงหายโรค มีความสุข
มีความเสรี อยู่ตามลำพังได้ เดินได้ตามปรารถนา เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อนเรา
ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษอย่างร้ายแรง เพราะเหตุแห่งการถูกลูกศรแทง เรานั้น