เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 9. พาลปัณฑิตสูตร

รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
[245] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลนั้น เรานั้นได้รู้ว่า ‘เราละ
อุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้นได้แล้ว เอาเถิด บัดนี้ เราจะเจริญสมาธิทั้ง 3 ประการ’
เรานั้นจึงได้เจริญสมาธิที่มีวิตกมีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียง
วิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง ได้
เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิที่สหรคตด้วยความสุขบ้าง ได้เจริญสมาธิ
ที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง
อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลใด เราเจริญสมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เจริญสมาธิที่
มีปีติ เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติ เจริญสมาธิที่สหรคตด้วยสุข เจริญสมาธิที่สหรคต
ด้วยอุเบกขา ในกาลนั้น ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อุปักกิเลสสูตรที่ 8 จบ

9. พาลปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[246] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :290 }