เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 8. อุปักกิเลสสูตร

เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้งสอง จับนกคุ่มหลวม ๆ นกคุ่มนั้น
ย่อมบินไปจากมือเขาได้ แม้ฉันใด ความเพียรที่หย่อนเกินไปได้
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความเพียรที่หย่อน
เกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว
แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา
อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความ
ชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป และความเพียรที่หย่อนเกิน
ไปจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
9. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ตัณหาที่คอย
กระซิบได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเหตุ
สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ
เห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ
ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไป ความเพียรที่หย่อนเกินไป และตัณหาที่คอย
กระซิบจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
10. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘นานัตตสัญญาได้
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะนานัตตสัญญาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว
ความปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป
ความเพียรที่หย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และนานัตต-
สัญญาจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
11. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำ
แสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นานเลย แสงสว่างและการเห็น
รูปนั้น ก็หายไปจากเรา เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรานั้นได้คิดว่า
‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะลักษณะที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :286 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 8. อุปักกิเลสสูตร

เพ่งรูปมากเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ
เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่
วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม
ความชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป ความเพียรที่หย่อน
เกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ นานัตตสัญญา และลักษณะที่เพ่งรูป
มากเกินไปจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’

ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต

[242] เรานั้นรู้ชัดดังนี้ว่า ‘วิจิกิจฉาเป็นอุปกิเลส(ธรรมเครื่องเศร้าหมอง)แห่งจิต’
แล้ว จึงละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้1
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘อมนสิการเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละอมนสิการอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ถีนมิทธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละถีนมิทธะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความสะดุ้งกลัวเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความสะดุ้ง
กลัวอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความปลาบปลื้มใจเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความ
ปลาบปลื้มใจอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความชั่วหยาบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความชั่วหยาบ
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่หย่อนเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่หย่อนเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้