เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 8. อุปักกิเลสสูตร

2. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึง
จำแสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นาน แสงสว่างและการเห็น
รูปนั้นก็หายไปจากเรา เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรานั้นได้คิดว่า
‘อมนสิการ(การไม่ใส่ใจ) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอมนสิการเป็น
เหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ
การเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉาและอมนสิการจะ
ไม่เกิดแก่เราอีก’
3. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ถีนมิทธะเกิดขึ้น
แล้วแก่เรา เพราะถีนมิทธะเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ
สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำ
โดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะจะไม่เกิดแก่เราอีก’
4. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความสะดุ้งกลัว
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความสะดุ้งกลัวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล ที่สองข้างทางเกิดมีคนปอง
ร้ายเขา เพราะถูกคนปองร้ายนั้นเป็นเหตุ เขาจึงเกิดความสะดุ้งกลัว
แม้ฉันใด ความสะดุ้งกลัวเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะความสะดุ้งกลัวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ
เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่
วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ และความสะดุ้งกลัวจะไม่เกิดแก่
เราอีก’
5. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความปลาบปลื้ม
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความปลาบปลื้มเป็นเหตุ สมาธิของเรา
จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึง
หายไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :284 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 8. อุปักกิเลสสูตร

เปรียบเหมือนบุรุษผู้แสวงหาขุมทรัพย์แห่งหนึ่ง พบแหล่ง
ขุมทรัพย์ 5 แห่งในคราวเดียวกัน เพราะพบแหล่งขุมทรัพย์ 5
แห่งนั้นเป็นเหตุ เขาจึงเกิดความปลาบปลื้ม แม้ฉันใด ความ
ปลาบปลื้มเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความ
ปลาบปลื้มเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว
แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา
อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว และความปลาบปลื้มจะไม่
เกิดขึ้นแก่เราอีก’
6. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความชั่วหยาบ
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความชั่วหยาบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว
ความปลาบปลื้ม และความชั่วหยาบจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
7. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไปเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป
เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง
และการเห็นรูปจึงหายไป
เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้งสอง จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้น
ต้องถึงความตายในมือของบุรุษนั้นนั่นเอง แม้ฉันใด ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไป ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ
ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ
สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำ
โดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความ
ปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ และความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปจะไม่
เกิดขึ้นแก่เราอีก’
8. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความเพียรที่
หย่อนเกินไป ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียรที่หย่อนเกิน
ไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสง
สว่างและการเห็นรูปจึงหายไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :285 }