เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 7. อนุรุทธสูตร

“ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิดใน
หมู่เทพเดียวกันเหล่านั้น เทพบางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่เทพบางพวกมีรัศมี
หาประมาณมิได้”
“ท่านกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น กระผมจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านพึงตอบ
ปัญหานั้นตามที่ท่านพอใจ
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ 1 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’
อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ 2 หรือ 3 แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปสู่โคนต้นไม้ 2 หรือ 3 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคต
จิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ 2 หรือ 3 แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน 1 แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดเขตบ้าน 1 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน 1 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน 2 หรือ 3 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :273 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 7. อนุรุทธสูตร

“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดเขตบ้าน 2 หรือ 3 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคต
จิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน 2 หรือ 3 แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร 1 แห่งว่า ‘เป็น
แดนมหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร 1 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร 1 แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร 2 หรือ 3 แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่
ไปตลอดมหาอาณาจักร 2 หรือ 3 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร 2 หรือ 3 แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาปฐพีมีมหาสมุทร
เป็นขอบเขตอยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :274 }