เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 7. อนุรุทธสูตร

4. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างบริสุทธิ์เป็นอารมณ์อยู่ หลังจากตาย
แล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นปริสุทธาภา
การเข้าถึงภพ 4 ประการนี้แล
มีสมัยที่พวกเทพประชุมร่วมกัน เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่
มีรัศมีไม่ต่างกัน เปรียบเหมือนบุรุษตามประทีปน้ำมันหลายดวง เข้าไปยังเรือน
หลังหนึ่ง ประทีปน้ำมันเหล่านั้นปรากฏมีเปลวต่างกัน แต่มีแสงสว่างไม่ต่างกัน
แม้ฉันใด สมัยที่พวกเทพประชุมร่วมกัน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เทพเหล่านั้นย่อม
ปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่มีรัศมีไม่ต่างกัน
มีสมัยที่พวกเทพแยกกันประชุม เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกันและ
มีรัศมีต่างกัน เปรียบเหมือนบุรุษนำประทีบน้ำมันหลายดวงออกจากเรือนหลังนั้น
ประทีปน้ำมันเหล่านั้นปรากฏมีเปลวต่างกันและมีแสงสว่างต่างกัน แม้ฉันใด สมัย
ที่พวกเทพแยกกันประชุม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกาย
ต่างกัน และมีรัศมีต่างกัน
คหบดี เทพเหล่านั้นไม่มีความดำริอย่างนี้เลยว่า ‘สิ่งนี้ของเราทั้งหลายเที่ยง
ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่เทพเหล่านั้นย่อมอภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น
เปรียบเหมือนแมลงวันที่ติดไปกับหาบหรือตะกร้า ย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า
‘หาบหรือตะกร้านี้ของเราเที่ยง ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่ว่าแมลงวันเหล่านั้นย่อม
อภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น แม้ฉันใด เทพเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่
มีความคิดอย่างนี้เลยว่า ‘สิ่งนี้ของเราทั้งหลายเที่ยง ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่เทพ
เหล่านั้นย่อมอภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น”
[233] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสภิยกัจจานะ ได้
กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะว่า “ดีละ ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ แต่กระผมมีเรื่องจะขอ
ถามให้ยิ่งขึ้นไปในเรื่องนี้ว่า ‘เทพผู้มีรัศมีทั้งหมดนั้นมีรัศมีเล็กน้อย หรือว่าบรรดา
เทพเหล่านั้นมีเทพบางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้”
ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “ท่านกัจจานะ โดยองค์แห่งการเกิด บรรดาเทพ
เหล่านี้ เทพบางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่เทพบางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :272 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 7. อนุรุทธสูตร

“ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิดใน
หมู่เทพเดียวกันเหล่านั้น เทพบางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่เทพบางพวกมีรัศมี
หาประมาณมิได้”
“ท่านกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น กระผมจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านพึงตอบ
ปัญหานั้นตามที่ท่านพอใจ
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ 1 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’
อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ 2 หรือ 3 แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปสู่โคนต้นไม้ 2 หรือ 3 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคต
จิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ 2 หรือ 3 แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน 1 แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดเขตบ้าน 1 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน 1 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน 2 หรือ 3 แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ 2 รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :273 }