เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 6. ภูมิชสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังวังของชยเสนราชกุมาร แล้วนั่งบนอาสนะที่
ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมารเสด็จเข้ามาหาข้าพระองค์ แล้วได้ตรัส
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่
สมควร ได้รับสั่งกับข้าพระองค์ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระภูมิชะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้ว ประพฤติ
พรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็
ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ในเรื่องนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีทิฏฐิอย่างไร ตรัส
สอนไว้อย่างไร’
เมื่อชยเสนราชกุมารรับสั่งอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ถวายพระพรว่า ‘พระ
ราชกุมาร เรื่องนี้ อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย
แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้ง
ความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :258 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 6. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวกเขาก็
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยแยบคาย พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้’
เรื่องนี้ อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย แต่
เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้’
ชยเสนราชกุมารรับสั่งว่า ‘ถ้าพระศาสดาของท่านพระภูมิชะผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ ตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะ ชะรอยจะมี
ความรู้เหนือสมณพราหมณ์ทั้งปวงแน่แท้’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว เมื่อ
พยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้
มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่าเป็นผู้พูดอย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำ
กล่าวเช่นนั้น และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภูมิชะ ช่างเถิด เธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว เมื่อ
พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่าพูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ
ชื่อว่าเป็นผู้พูดอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ แต่สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเป็น
มิจฉาทิฏฐิ(มีความเห็นผิด) เป็นมิจฉาสังกัปปะ(มีความดำริผิด) เป็นมิจฉาวาจา(มี
การเจรจาผิด) เป็นมิจฉากัมมันตะ(มีการงานผิด) เป็นมิจฉาอาชีวะ(มีการเลี้ยงชีพ
ผิด) เป็นมิจฉาวายามะ(มีความเพียรผิด) เป็นมิจฉาสติ(มีความระลึกผิด) เป็น
มิจฉาสมาธิ(มีความตั้งใจผิด)
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :259 }