เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 5. ทันตภูมิสูตร

อัคคิเวสสนะ เพราะช้างป่ารับอาหาร คือหญ้าและน้ำของควาญช้าง ควาญ
ช้างจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ช้างป่าจักดำรงชีพอยู่ได้ละ’ จึงให้ช้างป่านั้น
ฝึกยิ่งขึ้นด้วยสั่งว่า ‘รับไป พ่อ วางลง พ่อ’ เพราะช้างหลวงทำตามคำสั่ง
รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการรับและการวาง ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นฝึกยิ่ง
ขึ้นด้วยสั่งว่า ‘เดินไป พ่อ ถอยกลับ พ่อ’ เพราะช้างหลวงทำตามคำสั่ง รับทำ
ตามโอวาทของควาญช้างในการเดินไปและการถอยกลับ ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นฝึก
ยิ่งขึ้นด้วยสั่งว่า ‘ยืนขึ้น พ่อ หมอบลง พ่อ’ เพราะช้างหลวงทำตามคำสั่ง รับ
ทำตามโอวาทของควาญช้างในการยืนและการหมอบ ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นฝึกยิ่ง
ขึ้นจนถึงขั้นที่ชื่อว่าอาเนญชะ(ไม่หวั่นไหว)คือผูกโล่ใหญ่ไว้ที่งวงช้างนั้น จัดบุรุษถือหอกซัด
นั่งบนคอช้าง จัดบุรุษถือหอกซัดหลายคนยืนล้อมรอบ ส่วนควาญช้างถือของ้าวยาว
ยืนอยู่ข้างหน้า ช้างนั้นได้รับการฝึกถึงขั้นอาเนญชะอยู่ จึงไม่ขยับเท้าหน้า ไม่ขยับ
เท้าหลัง ไม่เขยื้อนกายไปข้างหน้า ไม่เขยื้อนกายไปข้างหลัง ไม่โคลงหัว ไม่กระดิกหู
ไม่เหวี่ยงงา ไม่แกว่งหาง ไม่ขยับงวง เป็นช้างหลวงผู้อดทนต่อการถูกหอกทิ่มแทง
ถูกดาบฟัน ถูกลูกศรเสียบแทง และถูกเครื่องประหารของศัตรูอื่น อดทนต่อเสียง
อึกกระทึกแห่งกลองศึก มโหระทึก สังข์ และกลองเล็ก กำจัดนิสัยดื้อรั้นทุกอย่าง
และหมดพยศ จึงนับว่า ‘เป็นช้างสมควรแก่พระราชา อันพระราชาควรใช้สอย
เป็นองค์สมบัติของพระราชา’ แม้ฉันใด
[218] อัคคิเวสสนะ ตถาคต1ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อุบัติขึ้นมาในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ2 ไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค3 ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
มนุษย์ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มี
ความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด4 ประกาศพรหมจรรย์5 พร้อมทั้ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 5. ทันตภูมิสูตร

อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน
(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใดตระกูลหนึ่งได้สดับธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาใน
ตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทาง
มาแห่งธุลี การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี
เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’
ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต1 ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แล เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในที่แจ้ง ความจริง เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือกามคุณ 5 อยู่ ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่
ในสิกขาบททั้งหลาย’
อัคคิเวสสนะ เพราะอริยสาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ‘มาเถิด ภิกษุ
เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ฯลฯ
[219] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 นี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็น
เครื่องทอนปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ