เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 5. ทันตภูมิสูตร

ลงมายังเชิงภูเขาเบื้องล่างแล้วจูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ให้พัก
เหนื่อยครู่หนึ่งแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ท่านยืนอยู่บนภูเขานั้น มอง
เห็นอะไรบ้าง’ สหายคนนั้นตอบว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรายืนอยู่บนภูเขาแล้ว ย่อมมอง
เห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระ
โบกขรณีอันน่ารื่นรมย์’
สหายผู้ที่ขึ้นไปก่อนแล้วนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรารู้คำที่ท่านกล่าว
แล้วอย่างนี้บัดนี้เองว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เป็นไปไม่ได้ที่ท่านยืนอยู่บนภูเขาแล้ว
จะพึงมองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์
และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ได้’ และสหายผู้ขึ้นไปทีหลังนั้นกล่าวว่า ‘เรารู้คำที่
ท่านกล่าวอย่างนี้บัดนี้เหมือนกันว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรายืนอยู่บนภูเขาแล้ว ย่อมมอง
เห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระ
โบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ได้’
สหายผู้ที่ขึ้นไปก่อนแล้วนั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ความเป็นจริง เรา
ถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้ จึงมองไม่เห็นสิ่งที่ควรเห็น’
อัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้ที่ชยเสนราชกุมาร ผู้ถูก
กองอวิชชาใหญ่ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ ปิดบังไว้ รึงรัดไว้ ห่อหุ้มไว้ ยังอยู่
ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกรุมเร้า ถูกความเร่าร้อนเพราะกาม
แผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงบรรลุ พึงทำให้แจ้งด้วยเนกขัมมะได้
อัคคิเวสสนะ ถ้าเธอพึงอธิบายอุปมา 2 ข้อนี้ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสน
ราชกุมารได้ ชยเสนราชกุมารจะพึงเลื่อมใสเธออย่างน่าอัศจรรย์ และชยเสน
ราชกุมารผู้เลื่อมใสแล้ว จะพึงแสดงอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสแก่เธอ”
อจิรวตะ สมณุทเทสกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
จักอธิบายอุปมา 2 ข้อนี้ที่น่าอัศจรรย์ ที่ข้าพระองค์ยังไม่เคยได้สดับมาก่อน
ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมาร เหมือนพระผู้มีพระภาคได้อย่างไรเล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :249 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 5. ทันตภูมิสูตร

[217] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัคคิเวสสนะ กษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษก1แล้ว รับสั่งเรียกพรานผู้ชำนาญป่าที่ช้างอาศัยอยู่มาแล้วตรัสว่า ‘มา
เถิดพ่อพรานช้างเพื่อนยาก ท่านจงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังดงช้าง เห็นช้างป่าแล้ว
จงคล้องมันผูกไว้ที่คอช้างหลวงเถิด’ พรานป่าผู้เป็นควาญช้าง รับพระราชโองการ
แล้ว จึงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังดงช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จึงคล้องมันผูกไว้ที่คอช้างหลวง
ช้างหลวงจึงนำช้างป่านั้นออกมาสู่ที่กลางแจ้งได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ช้างป่าจึงมา
อยู่กลางแจ้ง ความจริงช้างป่าทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือดงช้างอยู่ พรานป่าผู้เป็น
ควาญช้างจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่กษัตราธิราชว่า ‘ขอเดชะ ช้างป่าของพระองค์มาอยู่
ที่กลางแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า’
ลำดับนั้น กษัตราธิราชจึงรับสั่งเรียกควาญช้างมาตรัสว่า ‘มาเถิดพ่อ
ควาญช้าง ท่านจงฝึกช้างป่า จงไปเพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความสับสน
ของสัตว์ป่า และแก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจและความเร่าร้อนใจ
ของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่านั้นยินดีในแดนบ้าน ให้เพลิดเพลินในปกติที่มนุษย์
ต้องการเถิด’
ควาญช้างรับพระราชโองการแล้ว จึงฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่ามคอ
ช้างป่าไว้อย่างมั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความสับสนของสัตว์ป่า
และแก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจและความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า
เพื่อให้ช้างป่านั้นยินดีในแดนบ้าน ให้เพลิดเพลินในปกติที่มนุษย์ต้องการ ควาญช้าง
ร้องเรียกช้างป่านั้นด้วยคำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นภาษาของชาวเมือง
คนส่วนมากรักใคร่พอใจ เพราะช้างป่าถูกควาญช้างร้องเรียกอยู่ด้วยคำไม่มีโทษ
ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นภาษาของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจเห็นปานนั้น
ช้างจึงตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะเรียนรู้ ควาญช้างจึงเพิ่มอาหาร คือหญ้าและน้ำให้
ช้างนั้นยิ่งขึ้น