เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 5. ทันตภูมิสูตร

[215] อัคคิเวสสนะ ช้างที่ควรฝึกคู่หนึ่ง ม้าที่ควรฝึกคู่หนึ่ง หรือโคที่ควร
ฝึกคู่หนึ่ง ที่ผู้ฝึกฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว (กับ) ช้างที่ควรฝึกอีกคู่หนึ่ง ม้าที่ควรฝึก
อีกคู่หนึ่ง หรือโคที่ควรฝึกอีกคู่หนึ่ง ที่เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดเลย เธอเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ช้างที่ควรฝึก ม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่ผู้ฝึกฝึกดีแล้ว
หัดดีแล้ว นั่นแหละ จะเรียนรู้เหตุการณ์ที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว พึงสำเร็จภูมิที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว
ได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ส่วนช้างที่ควรฝึก ม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด
แล้วเหล่านั้นนั่นแหละ จะเรียนรู้เหตุการณ์ที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว จะสำเร็จภูมิที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว
เหมือนช้างที่ควรฝึก ม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่ผู้ฝึกฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว
เหล่านั้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“อัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้ที่ชยเสนราชกุมารผู้ยังอยู่
ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกรุมเร้า ถูกความเร่าร้อนเพราะกาม
แผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากามอยู่ จักทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรงทำให้
แจ้งจิตเตกัคคตาที่บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงบรรลุ พึงทำให้แจ้ง ด้วยเนกขัมมะได้
[216] อัคคิเวสสนะ มีภูเขาใหญ่อยู่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม สหาย 2 คน
ออกจากบ้านหรือนิคมนั้นแล้วจูงมือกันเข้าไปยังที่ที่ภูเขาตั้งอยู่ สหายคนหนึ่งยืนอยู่
ที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง สหายคนหนึ่งขึ้นไปบนภูเขา สหายคนที่ยืนอยู่ที่เชิงภูเขาเบื้อง
ล่างจึงกล่าวกับสหายผู้ยืนอยู่บนภูเขานั้นอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ท่านยืนอยู่บนภูเขา
นั้น มองเห็นอะไรบ้าง’ สหายผู้ยืนอยู่บนภูเขานั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรา
ยืนอยู่บนภูเขาแล้ว ย่อมมองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิ
ประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์’
สหายผู้ยืนอยู่ที่เชิงภูเขาเบื้องล่างนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เป็นไปไม่ได้
ที่ท่านยืนอยู่บนภูเขาแล้วจะพึงมองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิ
ประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ได้’ สหายผู้ยืนอยู่บนภูเขา จึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :248 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 5. ทันตภูมิสูตร

ลงมายังเชิงภูเขาเบื้องล่างแล้วจูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ให้พัก
เหนื่อยครู่หนึ่งแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ท่านยืนอยู่บนภูเขานั้น มอง
เห็นอะไรบ้าง’ สหายคนนั้นตอบว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรายืนอยู่บนภูเขาแล้ว ย่อมมอง
เห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระ
โบกขรณีอันน่ารื่นรมย์’
สหายผู้ที่ขึ้นไปก่อนแล้วนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรารู้คำที่ท่านกล่าว
แล้วอย่างนี้บัดนี้เองว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เป็นไปไม่ได้ที่ท่านยืนอยู่บนภูเขาแล้ว
จะพึงมองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์
และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ได้’ และสหายผู้ขึ้นไปทีหลังนั้นกล่าวว่า ‘เรารู้คำที่
ท่านกล่าวอย่างนี้บัดนี้เหมือนกันว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรายืนอยู่บนภูเขาแล้ว ย่อมมอง
เห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระ
โบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ได้’
สหายผู้ที่ขึ้นไปก่อนแล้วนั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ความเป็นจริง เรา
ถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้ จึงมองไม่เห็นสิ่งที่ควรเห็น’
อัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้ที่ชยเสนราชกุมาร ผู้ถูก
กองอวิชชาใหญ่ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ ปิดบังไว้ รึงรัดไว้ ห่อหุ้มไว้ ยังอยู่
ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกรุมเร้า ถูกความเร่าร้อนเพราะกาม
แผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงบรรลุ พึงทำให้แจ้งด้วยเนกขัมมะได้
อัคคิเวสสนะ ถ้าเธอพึงอธิบายอุปมา 2 ข้อนี้ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสน
ราชกุมารได้ ชยเสนราชกุมารจะพึงเลื่อมใสเธออย่างน่าอัศจรรย์ และชยเสน
ราชกุมารผู้เลื่อมใสแล้ว จะพึงแสดงอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสแก่เธอ”
อจิรวตะ สมณุทเทสกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
จักอธิบายอุปมา 2 ข้อนี้ที่น่าอัศจรรย์ ที่ข้าพระองค์ยังไม่เคยได้สดับมาก่อน
ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมาร เหมือนพระผู้มีพระภาคได้อย่างไรเล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :249 }