เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 5. ทันตภูมิสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระพักกุละนั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ท่านพระกัสสปะ
กล่าวว่า “ข้อที่ท่านพักกุละนั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์นี้ เราทั้งหลายจะ
จำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” ดังนี้แล

พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตรที่ 4 จบ

5. ทันตภูมิสูตร
ว่าด้วยภูมิของผู้ได้รับการฝึกแล้ว

[213] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สมณุทเทสชื่ออจิรวตะ อยู่ในกระท่อมใกล้ป่า ครั้งนั้น
พระราชกุมารนามว่าชยเสน1ทรงดำเนินเล่นไปโดยลำดับ เข้าไปหาอจิรวตะ
สมณุทเทสถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ชยเสนราชกุมารได้รับสั่งกับอจิรวตะ สมณุทเทสว่า “ท่านอัคคิเวสสนะ
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ พึงบรรลุจิตเตกัคคตา(สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว)ได้’ จริงหรือ”
อจิรวตะ สมณุทเทสถวายพระพรว่า “พระราชกุมาร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ พึง
บรรลุจิตเตกัคคตาได้”
“ดีละ ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้ศึกษา
มาแก่ข้าพเจ้าเถิด”
“พระราชกุมาร อาตมภาพไม่สามารถแสดงธรรมแก่พระองค์ตามที่ได้สดับมา
ตามที่ได้ศึกษามา เพราะถ้าอาตมภาพจะแสดงธรรมแก่พระองค์ตามที่ได้สดับมา
ตามที่ได้ศึกษามา แต่พระองค์ไม่ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพ ข้อนั้น
จะเป็นความยาก จะเป็นความลำบากแก่อาตมภาพ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 5. ทันตภูมิสูตร

“ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้
ศึกษามา บางทีข้าพเจ้าอาจทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะก็ได้”
“พระราชกุมาร อาตมภาพจะแสดงธรรมแก่พระองค์ตามที่ได้สดับมา ตามที่
ได้ศึกษามา ถ้าพระองค์ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้ นั่นแหละเป็น
ความดี ถ้าไม่ทรงทราบ ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในภาวะของพระองค์เถิด อย่าได้
ซักถามอาตมภาพในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไปเลย”
“ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้
ศึกษามา ถ้าข้าพเจ้าทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะได้ นั่นเป็นความดี
ถ้าไม่ทราบ ข้าพเจ้าจะดำรงตนอยู่ในภาวะของตน ข้าพเจ้าจักไม่ซักถามท่าน
อัคคิเวสสนะในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไป”
[214] ลำดับนั้น อจิรวตะ สมณุทเทสได้แสดงธรรมแก่ชยเสนราชกุมาร
ตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้ศึกษามา เมื่ออจิรวตะ สมณุทเทสกล่าวอย่างนั้นแล้ว
ชยเสนราชกุมารได้ตรัสว่า “ท่านอัคคิเวสนะผู้เจริญ เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ พึงบรรลุจิตเตกัคคตาได้”
ต่อจากนั้น ชยเสนราชกุมารทรงประกาศความเป็นไปไม่ได้แก่อจิรวตะ
สมณุทเทส ทรงลุกขึ้นจากที่ประทับแล้วเสด็จจากไป
ครั้งนั้น เมื่อชยเสนราชกุมารเสด็จจากไปแล้วไม่นาน อจิรวตะ สมณุทเทสได้
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่ได้สนทนาปราศรัยกับชยเสนราชกุมารทั้งหมดนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค
เมื่ออจิรวตะ สมณุทเทสกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้ว่า
“อัคคิเวสสนะ ชยเสนราชกุมารพึงได้ประโยชน์จากข้อความนั้นในภาษิตของเธอนี้
แต่ที่ไหน เป็นไปไม่ได้ที่ชยเสนราชกุมาร ผู้ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม
ถูกกามวิตกรุมเร้า ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหา
กามอยู่ จักทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้งจิตเตกัคคตาที่บุคคลพึงรู้ พึงเห็น
พึงบรรลุ พึงทำให้แจ้ง ด้วยเนกขัมมะ1ได้