เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค]
4. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร

“ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา 80 พรรษา เราไม่รู้จักการ
จำพรรษาในเสนาสนะใกล้บ้านเลย”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้จักการจำพรรษาในเสนาสนะใกล้บ้านตลอดเวลา 80
พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่า เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่าน
พักกุละ” (34)
“ท่านผู้มีอายุ เราเป็นผู้มีกิเลส ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้น 7 วันเท่านั้น
ในวันที่ 8 ก็ได้บรรลุอรหัตตผล”
“ข้อที่ท่านพักกุละเป็นผู้มีกิเลส ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้น 7 วันเท่านั้น
ในวันที่ 8 ก็ได้บรรลุอรหัตตผลนี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่
เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (35)
[212] “ท่านพักกุละ ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย
นี้เถิด”
อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว เมื่อบวชแล้วไม่นาน
หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็
ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
จึงเป็นอันว่า ท่านพระกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
สมัยต่อมา ท่านพระพักกุละถือลูกดาลเข้าไปยังวิหารทุก ๆ หลัง แล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า “นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด วันนี้
จักเป็นวันปรินิพพานของเรา”
ท่านพระกัสสปะกล่าวว่า “ข้อที่ท่านพักกุละถือลูกดาลเข้าไปยังวิหารทุก ๆ หลัง
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด
วันนี้จักเป็นวันปรินิพพานของเรา’ เราทั้งหลายจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :245 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 5. ทันตภูมิสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระพักกุละนั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ท่านพระกัสสปะ
กล่าวว่า “ข้อที่ท่านพักกุละนั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์นี้ เราทั้งหลายจะ
จำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” ดังนี้แล

พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตรที่ 4 จบ

5. ทันตภูมิสูตร
ว่าด้วยภูมิของผู้ได้รับการฝึกแล้ว

[213] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สมณุทเทสชื่ออจิรวตะ อยู่ในกระท่อมใกล้ป่า ครั้งนั้น
พระราชกุมารนามว่าชยเสน1ทรงดำเนินเล่นไปโดยลำดับ เข้าไปหาอจิรวตะ
สมณุทเทสถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ชยเสนราชกุมารได้รับสั่งกับอจิรวตะ สมณุทเทสว่า “ท่านอัคคิเวสสนะ
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ พึงบรรลุจิตเตกัคคตา(สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว)ได้’ จริงหรือ”
อจิรวตะ สมณุทเทสถวายพระพรว่า “พระราชกุมาร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ พึง
บรรลุจิตเตกัคคตาได้”
“ดีละ ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้ศึกษา
มาแก่ข้าพเจ้าเถิด”
“พระราชกุมาร อาตมภาพไม่สามารถแสดงธรรมแก่พระองค์ตามที่ได้สดับมา
ตามที่ได้ศึกษามา เพราะถ้าอาตมภาพจะแสดงธรรมแก่พระองค์ตามที่ได้สดับมา
ตามที่ได้ศึกษามา แต่พระองค์ไม่ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพ ข้อนั้น
จะเป็นความยาก จะเป็นความลำบากแก่อาตมภาพ”