เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 2. มหาสุญญตสูตร

ย่อมยินดีความหมกมุ่น ถึงความอยากได้ จะเวียนกลับมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
ศาสดานี้เราเรียกว่าอาจารย์มีอุปัทวะ ด้วยอุปัทวะของอาจารย์ บาปอกุศลธรรม
อันเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก
เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ก็ได้ฆ่าศาสดานั้น
อานนท์ อุปัทวะของอาจารย์ เป็นอย่างนี้
[194] อุปัทวะของศิษย์ เป็นอย่างไร
คือ สาวกของศาสดานั้น เมื่อเพิ่มพูนความสงัดตามศาสดานั้น จึงพักอยู่
ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง
และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกอยู่อย่างนั้น พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคม
และชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท
พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมยินดีความหมกมุ่น ถึงความอยากได้ จะเวียน
กลับมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก สาวกนี้เราเรียกว่าศิษย์มีอุปัทวะ ด้วยอุปัทวะของ
ศิษย์ บาปอกุศลธรรมอันเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ก็ได้ฆ่าสาวกนั้น
อานนท์ อุปัทวะของศิษย์ เป็นอย่างนี้
[195] อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้
มีพระภาค ตถาคตนั้นย่อมพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีกออกอยู่อย่างนั้น
พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพราหมณ์
และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ยินดี
ความหมกมุ่น ไม่ถึงความอยากได้ ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั้น เมื่อเพิ่มพูนความสงัดตามตถาคตผู้ศาสดา
พระองค์นั้น ย่อมพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :231 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 2. มหาสุญญตสูตร

ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกอยู่อย่างนั้น
พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท ย่อมพากันเข้าไปหา เมื่อพราหมณ์
และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมยินดี
ความหมกมุ่น ถึงความอยากได้ จะกลับเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก สาวกนี้
เราเรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอุปัทวะ ด้วยอุปทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์
บาปอกศุลธรรมอันเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติชราและมรณะต่อไป ก็ได้ฆ่าสาวกนั้น
อานนท์ อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นอย่างนี้
อานนท์ บรรดาอุปัทวะทั้ง 3 ประการนั้น อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้
มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัทวะของอาจารย์และอุปัทวะของศิษย์ เป็น
ไปเพื่อความตกต่ำ
[196] อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงประพฤติต่อเราด้วยวัตรของ
มิตรเถิด อย่าประพฤติต่อเราด้วยวัตรของศัตรูเลย ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลและเพื่อความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน
สาวกทั้งหลายย่อมประพฤติต่อศาสดาด้วยวัตรของศัตรู ไม่ประพฤติด้วย
วัตรของมิตร เป็นอย่างไร
คือ ศาสดาในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์ อาศัยความ
เอ็นดู จึงแสดงธรรมสอนสาวกทั้งหลายว่า ‘เรื่องนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ
เพื่อความสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกของศาสดานั้นกลับไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้
และยังหลีกเลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน1
สาวกทั้งหลายย่อมประพฤติต่อศาสดาด้วยวัตรของศัตรู ไม่ประพฤติด้วยวัตร
ของมิตร เป็นอย่างนี้
สาวกทั้งหลายย่อมประพฤติต่อศาสดาด้วยวัตรของมิตร ไม่ประพฤติด้วย
วัตรของศัตรู เป็นอย่างไร