เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 2. มหาสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในฉันทราคะในกามคุณ 5 นี้ ที่ละได้แล้วนั้น
ด้วยอาการอย่างนี้
[191] อานนท์ อุปาทานขันธ์ 5 นี้ เป็นธรรมที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับว่า ‘อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความ
ดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา ฯลฯ
อย่างนี้สัญญา ฯลฯ
อย่างนี้สังขาร ฯลฯ
อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่ง
วิญญาณ’1
ภิกษุนั้นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ 5 นี้อยู่
ย่อมละอัสมิมานะ2ในอุปาทานขันธ์ 5 ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัด
อัสมิมานะที่ละได้แล้วนั้น อย่างนี้ว่า ‘อัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ 5 นี้ เราละได้
แล้ว’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ 5 นี้ ที่ละได้
แล้วนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ธรรมเหล่านี้3 เนื่องมาจากกุศลโดยส่วนเดียว ไกลจากข้าศึก เป็นโลกุตตระ
อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้
อานนท์ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ สาวกพิจารณาเห็นอำนาจ
ประโยชน์อะไร จึงควรติดตามศาสดาอย่างใกล้ชิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 2. มหาสุญญตสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบาย
เนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังจากพระผู้มีพระภาค
แล้วจักทรงจำไว้”
[192] “อานนท์ สาวกไม่ควรติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟังสุตะ เคยยะ และ
เวยยากรณะ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมทั้งหลายอันเธอทั้งหลายสดับ ทรงจำ คล่องปาก เพ่งพินิจ
ด้วยจิต รู้แจ้งแทงตลอดดีแล้ว สิ้นกาลช้านาน แต่สาวกก็ควรติดตามศาสดา
อย่างใกล้ชิด เพื่อฟังเรื่องเห็นปานนี้ คือ เรื่องความมักน้อย เรื่องความสันโดษ
เรื่องความสงัด เรื่องความไม่คลุกคลีกัน เรื่องการปรารภความเพียร เรื่องศีล
เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลา
กิเลสอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแก่ความเป็นไปแห่งจิต เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดย
ส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และ
เพื่อนิพพาน
อานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น อุปัทวะของอาจารย์จึงมีได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
อุปัทวะของศิษย์จึงมีได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์จึงมีได้
[193] อุปัทวะของอาจารย์ เป็นอย่างไร
คือ ศาสดา1บางคนในโลกนี้ พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้
ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อศาสดานั้นหลีกออก
อยู่อย่างนั้น พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา
เมื่อพราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ศาสดานั้น