เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 2. มหาสุญญตสูตร

[190] อานนท์ กามคุณ 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
อานนท์ กามคุณ 5 ประการนี้
ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนือง ๆ ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในเพราะกามคุณ
5 นี้ ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีอยู่แก่เราหรือ’ หากภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในกามคุณ
5 นี้ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง มี
อยู่แก่เรา’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดข้อที่จิตฟุ้งขึ้นนั้น อย่างนี้ว่า ‘ฉันทราคะ1
ในกามคุณ 5 นี้ เรายังละไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ2ในฉันทราคะในกามคุณ 5 นี้ ที่ยังละ
ไม่ได้นั้น ด้วยอาการอย่างนี้
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในเพราะกามคุณ
5 นี้ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่งไม่มี
แก่เราเลย’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นนั้น อย่างนี้ว่า ‘ฉันทราคะ
ในกามคุณ 5 นี้ เราละได้แล้ว’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 2. มหาสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในฉันทราคะในกามคุณ 5 นี้ ที่ละได้แล้วนั้น
ด้วยอาการอย่างนี้
[191] อานนท์ อุปาทานขันธ์ 5 นี้ เป็นธรรมที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับว่า ‘อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความ
ดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา ฯลฯ
อย่างนี้สัญญา ฯลฯ
อย่างนี้สังขาร ฯลฯ
อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่ง
วิญญาณ’1
ภิกษุนั้นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ 5 นี้อยู่
ย่อมละอัสมิมานะ2ในอุปาทานขันธ์ 5 ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัด
อัสมิมานะที่ละได้แล้วนั้น อย่างนี้ว่า ‘อัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ 5 นี้ เราละได้
แล้ว’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ 5 นี้ ที่ละได้
แล้วนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ธรรมเหล่านี้3 เนื่องมาจากกุศลโดยส่วนเดียว ไกลจากข้าศึก เป็นโลกุตตระ
อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้
อานนท์ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ สาวกพิจารณาเห็นอำนาจ
ประโยชน์อะไร จึงควรติดตามศาสดาอย่างใกล้ชิด”