เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 2. มหาสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นใส่ใจว่า ‘เราจักพูดเรื่องเห็นปานนี้ คือ เรื่องความมักน้อย เรื่อง
ความสันโดษ เรื่องความสงัด เรื่องความไม่คลุกคลีกัน เรื่องการปรารภความเพียร
เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ‘1 ซึ่งเป็น
เรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแก่ความเป็นไปแห่งจิต2 เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการพูดนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการตรึก ภิกษุนั้น
ใส่ใจว่า ‘เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานนี้ คือ กามวิตก(ความตรึกในกาม)
พยาบาทวิตก(ความตรึกในพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในการเบียดเบียน)
ซึ่งเป็นวิตกเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการตรึกนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจว่า ‘เราจักตรึกในวิตกเห็นปานนี้ คือ เนกขัมมวิตก(ความตรึก
ที่จะออกจากกาม) อพยาบาทวิตก(ความตรึกในการไม่พยาบาท) อวิหิงสาวิตก
(ความตรึกในการไม่เบียดเบียน) ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนำออก ที่
นำออกเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการตรึกนั้น ด้วยอาการอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 2. มหาสุญญตสูตร

[190] อานนท์ กามคุณ 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
อานนท์ กามคุณ 5 ประการนี้
ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนือง ๆ ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในเพราะกามคุณ
5 นี้ ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีอยู่แก่เราหรือ’ หากภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในกามคุณ
5 นี้ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง มี
อยู่แก่เรา’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดข้อที่จิตฟุ้งขึ้นนั้น อย่างนี้ว่า ‘ฉันทราคะ1
ในกามคุณ 5 นี้ เรายังละไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ2ในฉันทราคะในกามคุณ 5 นี้ ที่ยังละ
ไม่ได้นั้น ด้วยอาการอย่างนี้
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในเพราะกามคุณ
5 นี้ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่งไม่มี
แก่เราเลย’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นนั้น อย่างนี้ว่า ‘ฉันทราคะ
ในกามคุณ 5 นี้ เราละได้แล้ว’