เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 2. มหาสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในสุญญตาในภายในนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายในและในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอใส่ใจอาเนญชสมาบัติ1 จิตจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุ
ย่อมรู้ชัดอาเนญชสมาบัตินั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตจึง
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในอาเนญชสมาบัติ’
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสัมปชัญญะ2ในอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิต
ให้มั่นในสมาธินิมิตในเบื้องต้นนั้นแล ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายใน เมื่อเธอใส่
ใจสุญญตาในภายใน จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในสุญญตาในภายใน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดสุญญตานั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจสุญญตา
ในภายใน จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในสุญญตาในภายใน’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในสุญญตาในภายในนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายในและในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่น และน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอาเนญช
สมาบัตินั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่น และน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการอย่างนี้
[189] อานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรม3อย่างนี้ จิตย่อมน้อมไป
เพื่อการเดินจงกรม ภิกษุนั้นจึงเดินจงกรมด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัส จักครอบงำเราผู้เดินจงกรมอยู่อย่างนี้ไม่ได้’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 2. มหาสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ1ในการเดินจงกรมนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการยืน ภิกษุนั้นจึง
ยืนด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส จักครอบงำเราผู้ยืนอยู่
แล้วอย่างนี้ไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการยืนนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการนั่ง ภิกษุนั้นจึง
นั่งด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส จักครอบงำเราผู้นั่งอยู่แล้ว
อย่างนี้ไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการนั่งนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการนอน ภิกษุนั้น
จึงนอนด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส จักครอบงำเราผู้นอน
อยู่อย่างนี้ไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการนอนนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการพูด เธอใส่ใจว่า
‘เราจักไม่พูดเรื่องเห็นปานนี้ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์
เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน
เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม
เรื่องเมือง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ
เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและ
ความเสื่อม2 ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ
พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการพูดนั้น ด้วยอาการอย่างนี้