เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 2. มหาสุญญตสูตร

อานนท์ เราไม่พิจารณาเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ไม่เกิดโสกะ
(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส
(ความไม่สบายใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เพราะรูปตามที่บุคคลกำหนัด
ยินดีกันแล้วแปรผันและเป็นอย่างอื่นเลย
[187] อานนท์ ก็วิหารธรรมนี้แลที่ตถาคตตรัสรู้แล้วในที่นั้นคือ ตถาคต
เข้าสุญญตา1ในภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ เข้ามา
หาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้น ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก2
โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ เป็นผู้สิ้นสุด
จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ทำการเจรจาที่เกี่ยวเนื่อง
ด้วยการชักชวนเท่านั้น ในบริษัทนั้นโดยแท้
อานนท์ เพราะเหตุนั้น ถ้าภิกษุ แม้หวังว่า ‘เราพึงเข้าสุญญตาใน
ภายในอยู่’ ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งจิตให้มั่น
[188] ภิกษุตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งจิตให้มั่น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ... บรรลุทุติยฌาน ...
บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ...
ภิกษุตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตให้มั่น
เป็นอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายใน เมื่อเธอใส่ใจสุญญตาในภายใน จิตจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในสุญญตาในภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุ
ย่อมรู้ชัดสุญญตานั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจสุญญตาในภายใน จิตจึง
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในสุญญตาในภายใน’