เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [3. สุญญตวรรค] 1. จูฬสุญญตสูตร

ภิกษุนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าป่านี้ ไม่มีความกระวนกระวาย
เพราะอาศัยความสำคัญว่าบ้าน ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญ
ว่ามนุษย์ มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าป่าอย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าบ้าน’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่ามนุษย์’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าป่าเท่านั้น’ ด้วยอาการอย่างนี้
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตา(ความว่าง)ตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน
บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[177] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่ามนุษย์ ไม่ใส่ใจความ
สำคัญว่าป่า ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น จิตของเธอ
จึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในความสำคัญว่าแผ่นดิน เปรียบเหมือน
หนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจากรอยย่น แม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ใส่ใจถึงความลุ่ม ๆ ดอน ๆ แห่งแผ่นดินนี้ซึ่งมีแม่น้ำลำธาร
เต็มไปด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอทั้งหมด ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ
ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไป
ในความสำคัญว่าแผ่นดิน
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวาย
เพราะอาศัยความสำคัญว่ามนุษย์ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยความ
สำคัญว่าป่า มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าแผ่นดิน
อย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่ามนุษย์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :216 }