เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 9. กายคตาสติสูตร

1. เป็นผู้อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดี
ครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วได้
2. เป็นผู้อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความ
หวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัวที่เกิดขึ้น
แล้วได้
3. เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
รบกวน ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนา
อันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี
ไม่น่าพอใจ พรากชีวิตได้
4. เป็นผู้ได้ฌาน 4 ซึ่งเป็นอาภิเจตสิก1 เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก
5. บรรลุวิธีแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคน
ก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ ฯลฯ ใช้
อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
6. ได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ (1) เสียงทิพย์ (2) เสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ
7. กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า
‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะ ... หรือจิตปราศจากโทสะ ...
จิตมีโมหะ ... หรือจิตปราศจากโมหะ...
จิตหดหู่ ... หรือจิตฟุ้งซ่าน ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 9. กายคตาสติสูตร

จิตเป็นมหัคคตะ1 ... หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ...
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ...
จิตเป็นสมาธิ ... หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ...
จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า
‘จิตไม่หลุดพ้น’
8. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง ฯลฯ
ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และ
ชีวประวัติอย่างนี้
9. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ
ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
10. เพราะอาสวะสิ้นไป ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ2 ปัญญาวิมุตติ3
อันไม่มีอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน4
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายคตาสติอันภิกษุปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็น
ดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เธอพึงหวัง
อานิสงส์ 10 ประการนี้ได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

กายคตาสติสูตรที่ 9 จบ