เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 9. กายคตาสติสูตร

ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการ
อย่างนี้ (16)
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม
ด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่ายกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่
ถูกต้อง เปรียบเหมือนในกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม
หรือดอกบุณฑริกบางเหล่าที่เกิดเจริญเติบโตในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ มีน้ำ
หล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตั้งแต่ยอดถึงเหง้า
ไม่มีส่วนไหนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้
ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอัน
ไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการ
อย่างนี้ (17)
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุจึงบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอมีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้
ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษ
นั่งใช้ผ้าขาวคลุมตัวตลอดศีรษะ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ผ้าขาวจะไม่ปกคลุม แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของ
ร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง1
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไปภาย
ในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (18)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 9. กายคตาสติสูตร

[156] ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา1ย่อมเป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของ
ภิกษุนั้น มหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัสด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่
ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของผู้นั้น แม้ฉันใด กายคตาสติอันภิกษุรูปใด
รูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นส่วนแห่งวิชชา
ย่อมเป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น2 ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์3ของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนัก
ไปที่กองดินเปียก เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนศิลาหนักนั้น
จะพึงจมลงในกองดินเปียกนั้นได้ไหม”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนไม้แห้งสนิท ต่อมา บุรุษนำไปทำเป็นไม้สีไฟ ด้วยหวังว่า
‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
บุรุษนั้นใช้ไม้ที่แห้งสนิทโน้นมาทำเป็นไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนหม้อน้ำว่างเปล่า ที่เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ต่อมา บุรุษถือเอา
หม้อน้ำนั้นมาทำเป็นเครื่องตักน้ำ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
บุรุษนั้นจะพึงตักน้ำได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”