เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 8. อานาปานัสสติสูตร

ความเพียรไม่ย่อหย่อน สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอัน
ภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
4. ปีติอันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว สมัยใด
ปีติอันปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
เจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่
5. เมื่อภิกษุมีจิตเกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยใด เมื่อภิกษุมี
จิตเกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่
6. เมื่อภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยใด
เมื่อภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อ
ว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
7. ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้อย่างดี สมัยใด
ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้อย่างดี สมัยนั้น
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
ชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของ
ภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :194 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 8. อานาปานัสสติสูตร

โพชฌงค์ 7

[152] โพชฌงค์ 7 ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก(ความสงัด) อาศัยวิราคะ
(ความคลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ(ความดับ) อันน้อมไปเพื่อความ
ปล่อยวาง
2. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
3. เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
4. เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
5. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
6. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
อันน้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อานาปานัสสติสูตรที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :195 }