เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 8. อานาปานัสสติสูตร

14. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก’
15. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก’
16. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก’
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
[149] อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงทำให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์ได้ คือ
1. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจออก’
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เรากล่าวลมหายใจเข้า ลมหายใจออกนี้ว่า
เป็นกายชนิดหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :189 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 8. อานาปานัสสติสูตร

2. สมัยใดภิกษุสำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจออก’
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจเข้า
ลมหายใจออกเป็นอย่างดีนี้ว่า เป็นเวทนาชนิดหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
3. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจออก’
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เราไม่บอกอานาปานสติแก่ภิกษุผู้หลงลืม ไม่มี
สัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :190 }