เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 7. มหาจัตตารีสกสูตร

มิจฉาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ การพูดหลอกลวง การเลียบเคียง การหว่านล้อม การพูดและเล็ม
การใช้ลาภต่อลาภ นี้เป็นมิจฉาอาชีวะ
สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาอาชีวะว่ามี 2 ได้แก่
1. สัมมาอาชีวะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
2. สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค
สัมมาอาชีวะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
นี้เป็นสัมมาอาชีวะ ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค เป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ
ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ
เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ ยังสัมมาอาชีวะให้
ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้นเป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละ
มิจฉาอาชีวะ มีสติเข้าถึงสัมมาอาชีวะอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม
3 นี้ คือ (1) สัมมาทิฏฐิ (2) สัมมาวายามะ (3) สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้
[141] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ 7 นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมา
วาจาก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :180 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 7. มหาจัตตารีสกสูตร

สัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ ผู้มี
สัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติก็มี
พอเหมาะ
ภิกษุทั้งหลาย พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ 8 จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ 10 (แม้ในบรรดาองค์เหล่านั้น บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกไปปราศแล้ว
ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาโดยสัมมาญาณะ) ด้วยประการฉะนี้
[142] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ 7 นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ สัมมาทิฏฐิ ย่อมทำลายมิจฉาทิฏฐิได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก
อันมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาทิฏฐินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็น
อเนกอันมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
สัมมาสังกัปปะ ย่อมทำลายมิจฉาสังกัปปะได้ ...
สัมมาวาจา ย่อมทำลายมิจฉาวาจาได้ ...
สัมมากัมมันตะ ย่อมทำลายมิจฉากัมมันตะได้ ...
สัมมาอาชีวะ ย่อมทำลายมิจฉาอาชีวะได้ ...
สัมมาวายามะ ย่อมทำลายมิจฉาวายามะได้ ...
สัมมาสติ ย่อมทำลายมิจฉาสติได้ ...
สัมมาสมาธิ ย่อมทำลายมิจฉาสมาธิได้ ...
สัมมาญาณะ ย่อมทำลายมิจฉาญาณะได้ ...
สัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายมิจฉาวิมุตติได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก อัน
มีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาวิมุตตินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็น
อเนกอันมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :181 }