เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 1. เทวทหสูตร

ภิกษุนั้นจึงเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก เมื่อภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น เหตุนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้นจึงไม่ต้อง
เริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น
ของเธอสำเร็จแล้ว เหตุนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้นจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้
[13] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคต1อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ2 ไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค3 รู้แจ้งโลกนี้ พร้อมทั้ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 1. เทวทหสูตร

เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
มนุษย์ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มี
ความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด1 ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง
ได้สดับธรรมนั้น เกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธา ย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่
ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด2 เป็นทางมาแห่งธุลี3 การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง4 การที่
ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำ
ได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเถิด’ ต่อมาเขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อย
ใหญ่ โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

สิกขาและสาชีพของภิกษุ

[14] ภิกษุนั้นบวชแล้วอย่างนี้ ถึงความเป็นผู้มีสิกขาและสาชีพ5ของภิกษุ
ทั้งหลาย คือ