เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 5. พหุธาตุกสูตร

อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ 6 ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (3)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุ
ผู้ฉลาดในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ 6 ประการ คือ
1. กามธาตุ (ธาตุคือกาม)
2. เนกขัมมธาตุ (ธาตุคือเนกขัมมะ)
3. พยาบาทธาตุ (ธาตุคือพยาบาท)
4. อพยาบาทธาตุ (ธาตุคืออพยาบาท)
5. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือวิหิงสา)
6. อวิหิงสาธาตุ (ธาตุคืออวิหิงสา)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ 6 ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (4)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุ
ผู้ฉลาดในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ 3 ประการนี้ คือ
1. กามธาตุ (ธาตุคือกามารมณ์)
2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์)
3. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปารมณ์)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ 3 ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (5)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาด
ในธาตุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :163 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 5. พหุธาตุกสูตร

“อานนท์ มีธาตุ 2 ประการนี้ คือ
1. สังขตธาตุ (ธาตุคือสังขตธรรม)
2. อสังขตธาตุ (ธาตุคืออสังขตธรรม)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ 2 ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (6)

ผู้ฉลาดในอายตนะ

[126] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ”
“อานนท์ อายตนะภายในและภายนอก อย่างละ 6 ประการนี้ คือ

1. จักขุ(ตา)คู่กับรูป 2. โสตะ(หู)คู่กับสัททะ(เสียง)
3. ฆานะ(จมูก)คู่กับคันธะ(กลิ่น) 4. ชิวหา(ลิ้น)คู่กับรส
5. กายคู่กับโผฏฐัพพะ 6. มโน(ใจ)คู่กับธรรมารมณ์

อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นอายตนะภายในและภายนอก อย่างละ
6 ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้
ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท”
“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ‘เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะ
สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :164 }