เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 5. พหุธาตุกสูตร

13. กายธาตุ (ธาตุคือกายประสาท)
14. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์)
15. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
16. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน)
17. ธัมมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์)
18. มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ 18 ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (1)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาด
ในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ 6 ประการนี้ คือ

1. ปฐวีธาตุ 2. อาโปธาตุ
3. เตโชธาตุ 4. วาโยธาตุ
5. อากาสธาตุ 6. วิญญาณธาตุ

อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ 6 ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (2)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาด
ในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ 6 ประการนี้ คือ
1. สุขธาตุ (ธาตุคือสุข)
2. ทุกขธาตุ (ธาตุคือทุกข์)
3. โสมนัสสธาตุ (ธาตุคือโสมนัส)
4. โทมนัสสธาตุ (ธาตุคือโทมนัส)
5. อุเปกขาธาตุ (ธาตุคืออุเบกขา)
6. อวิชชาธาตุ (ธาตุคืออวิชชา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :162 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 5. พหุธาตุกสูตร

อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ 6 ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (3)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุ
ผู้ฉลาดในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ 6 ประการ คือ
1. กามธาตุ (ธาตุคือกาม)
2. เนกขัมมธาตุ (ธาตุคือเนกขัมมะ)
3. พยาบาทธาตุ (ธาตุคือพยาบาท)
4. อพยาบาทธาตุ (ธาตุคืออพยาบาท)
5. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือวิหิงสา)
6. อวิหิงสาธาตุ (ธาตุคืออวิหิงสา)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ 6 ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (4)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุ
ผู้ฉลาดในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ 3 ประการนี้ คือ
1. กามธาตุ (ธาตุคือกามารมณ์)
2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์)
3. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปารมณ์)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ 3 ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (5)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาด
ในธาตุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :163 }