เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 1. เทวทหสูตร

“เพราะชายคนโน้นหลงรัก มีจิตผูกพัน มีความรักร้อนแรง มีใจจดจ่อใน
หญิงคนโน้น ฉะนั้น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดขึ้น
เพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ชายนั้นคิดอย่างนี้ว่า ‘เราหลงรัก มีจิตผูกพัน
มีความรักร้อนแรง มีใจจดจ่อในหญิงคนโน้น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาส จึงเกิดขึ้นแก่เรา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น
ทางที่ดี เราควรเลิกรักหญิงที่เราหลงรักนั้นเสีย’ เขาจึงเลิกรักหญิงที่เคยหลงรัก
นั้นเสีย สมัยต่อมา บุรุษนั้นเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น
เพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่นบ้างไหม”
“ไม่พึงเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะชายคนโน้นคลายความรักในหญิงคนโน้นได้แล้ว ฉะนั้น โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้นเพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะ
อยู่กับชายอื่น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่นำตนซึ่งไม่มีทุกข์เข้าไปรับทุกข์
ไม่สละสุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในสุขนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรานี้มี
ทุกข์เป็นเหตุ เริ่มบำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้ เพราะการบำเพ็ญ
ความเพียร อนึ่ง เรานี้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลาย
กำหนัดได้’
ภิกษุนั้นจึงเริ่มบำเพ็ญความเพียร อย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ ผู้เริ่มบำเพ็ญ
ความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้เพราะการบำเพ็ญความเพียร ภิกษุนั้นเจริญ
อุเบกขาอย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลาย
กำหนัดได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :16 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 1. เทวทหสูตร

ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุนั้น เริ่มบำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้
เพราะการบำเพ็ญความเพียร ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วย
อาการอย่างนี้
ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้
ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้
[12] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อเรา
อยู่ตามสบาย อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนไว้ใน
ความลำบาก อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น ทางที่ดี เราควรเริ่มตั้งตน
ไว้ในความลำบาก’ ภิกษุนั้นจึงเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก เมื่อภิกษุนั้นเริ่มตั้งตน
ไว้ในความลำบาก อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้น
จึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของ
เธอสำเร็จแล้ว เหตุนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้นจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ช่างศรลนลูกศรกลับไปกลับมาบนข่าไฟ 2 อัน ดัดให้ตรง
จนใช้การได้ เพราะเหตุที่ลูกศรอันช่างศรลนกลับไปกลับมาบนข่าไฟ 2 อัน
ดัดให้ตรงจนใช้การได้แล้ว สมัยต่อมา ช่างศรนั้นจึงไม่ลนลูกศรนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะช่างศรนั้นพึงลนลูกศรกลับไปกลับมาบนข่าไฟ 2 อัน ดัดให้ตรงจนใช้
การได้ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเขาสำเร็จแล้ว เหตุนั้น สมัยต่อมา
ช่างศรนั้นจึงไม่ลนลูกศรกลับไปกลับมาบนข่าไฟ 2 อัน ไม่ต้องดัดให้ตรงจนใช้การได้
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อเราอยู่ตามสบาย
อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น ทางที่ดี เราควรเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :17 }