เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพรูปที่
พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่พึงรู้แจ้ง
ทางตาเช่นนี้ควรเสพ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้ 2 ประการ คือ
1. รูปที่ควรเสพ
2. รูปที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้
ควรเสพ ฯลฯ
... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
เช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ควร
เสพ ฯลฯ
... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง
ทางกายเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ 2
ประการ คือ
1. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
2. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์
ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น ธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้งทางใจเช่นนี้ควรเสพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :154 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ 2
ประการ คือ
1. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
2. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ โดย
พิสดารอย่างนี้
[121] สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ 2 ชนิด คือ
1. จีวรที่ควรเสพ
2. จีวรที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวบิณฑบาตไว้ 2 ชนิด คือ
1. บิณฑบาตที่ควรเสพ
2. บิณฑบาตที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวเสนาสนะไว้ 2 ชนิด คือ
1. เสนาสนะที่ควรเสพ
2. เสนาสนะที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวหมู่บ้านไว้ 2 ชนิด คือ
1. หมู่บ้านที่ควรเสพ
2. หมู่บ้านที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวนิคมไว้ 2 ชนิด คือ
1. นิคมที่ควรเสพ
2. นิคมที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :155 }