เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
การได้อัตภาพเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้อัตภาพเช่นนี้ควรเสพ
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพที่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ
ได้อัตภาพที่มีความเบียดเบียนยังไม่สิ้นสุดลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพที่ไม่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ
ได้อัตภาพที่ไม่มีความเบียดเบียนสิ้นสุดลงแล้ว อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ 2 ประการ คือ
1. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
2. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง 2 ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่
ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :150 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

อายตนะ 12 ประการ

[119] สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้ 2 ประการ คือ
1. รูปที่ควรเสพ
2. รูปที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูไว้ 2 ประการ คือ
1. เสียงที่ควรเสพ
2. เสียงที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกไว้ 2 ประการ คือ
1. กลิ่นที่ควรเสพ
2. กลิ่นที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นไว้ 2 ประการ คือ
1. รสที่ควรเสพ
2. รสที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายไว้ 2 ประการ คือ
1. โผฏฐัพพะที่ควรเสพ
2. โผฏฐัพพะที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ 2 ประการ คือ
1. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
2. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :151 }