เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ด้วยความเป็นขโมย เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้ไม่
ละเมิดจารีตในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา
หญิงที่อยู่ในปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่
ในปกครองของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหม
ติดตัวอยู่ โดยที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้
สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจารไว้ 2 ประการ คือ
1. กายสมาจารที่ควรเสพ
2. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้ 2 ประการ ฯลฯ
เรากล่าวมโนสมาจารไว้ 2 ประการ ฯลฯ
เรากล่าวจิตตุปบาทไว้ 2 ประการ ฯลฯ
เรากล่าวการได้สัญญาไว้ 2 ประการ ฯลฯ
เรากล่าวการได้ทิฏฐิไว้ 2 ประการ ฯลฯ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ 2 ประการ คือ
1. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
2. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง 2 ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :149 }