เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

จิตตุปบาททั้ง 2 ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ
ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
จิตตุปบาทเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น จิตตุปบาทเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา มีจิตสหรคต
ด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ปองร้ายเขา มีจิตสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความ
เบียดเบียน มีจิตสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา มีจิตไม่
สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่พยาบาท มีจิตสหรคตด้วยความไม่พยาบาทอยู่
เป็นผู้ไม่เบียดเบียนอยู่ มีจิตสหรคตด้วยความไม่เบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวจิตตุปบาทไว้
2 ประการ คือ
1. จิตตุปบาทที่ควรเสพ
2. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ
จิตตุปบาททั้ง 2 ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :143 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

การได้สัญญา 2 ประการ

[115] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการ
ได้สัญญาไว้ 2 ประการ คือ
1. การได้สัญญาที่ควรเสพ
2. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ
การได้สัญญาทั้ง 2 ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง การได้สัญญาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้สัญญา
เช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้สัญญาเช่นนี้ควรเสพ
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วย
อภิชฌาอยู่ เป็นผู้พยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเบียดเบียน
มีสัญญาสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วย
อนภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่พยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้
ไม่มีความเบียดเบียน มีสัญญาสหรคตด้วยความไม่เบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :144 }