เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้
2 ประการ คือ
1. วจีสมาจารที่ควรเสพ
2. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ
วจีสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมโนสมาจารไว้
2 ประการ คือ
1. มโนสมาจารที่ควรเสพ
2. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ
มโนสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ
ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง มโนสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพมโนสมาจารเช่นใด
อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น มโนสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า

มโนสมาจาร 2 ประการ

[113] เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา คือเพ่งเล็ง
อยากได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น
จะพึงเป็นของเรา’ เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า
จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’1


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา คือ
ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’ เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์
เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความทุกข์ มีความสุข รักษาตนเถิด’1
เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมโนสมาจารไว้
2 ประการ คือ
1. มโนสมาจารที่ควรเสพ
2. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ
มโนสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

จิตตุปบาท 2 ประการ

[114] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
จิตตุปบาทไว้ 2 ประการ คือ
1. จิตตุปบาทที่ควรเสพ
2. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ