เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 1. เทวทหสูตร

5. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้มีความพยายามเลวทรามในปัจจุบันแน่
จึงเป็นเหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้
6. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข
และทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน นิครนถ์ทั้งหลายก็
เป็นผู้ควรถูกตำหนิ
7. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข
และทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร นิครนถ์ทั้งหลาย
ก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ
8. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์
ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์ทั้งหลายก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ
9. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ นิครนถ์
ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งอภิชาติ นิครนถ์ทั้งหลายก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ
10. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข
และทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน นิครนถ์ทั้งหลาย
ก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ
นิครนถ์ทั้งหลายเป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมา 10 ประการ ของนิครนถ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่ไร้ผล ความเพียรที่ไร้ผล เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :14 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 1. เทวทหสูตร

[10] ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่นำตนซึ่งไม่มีทุกข์เข้าไปรับทุกข์ ไม่สละสุขที่เกิดขึ้น
โดยธรรม1ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในสุขนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรานี้มีทุกข์เป็นเหตุ เริ่ม
บำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้เพราะการบำเพ็ญความเพียร อนึ่ง เรา
นี้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้’
ภิกษุนั้นเริ่มบำเพ็ญความเพียร อย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ ผู้เริ่มบำเพ็ญ
ความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้เพราะการบำเพ็ญความเพียร ภิกษุนั้นเจริญ
อุเบกขาอย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้
ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นหตุนั้น เริ่มบำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้
เพราะการบำเพ็ญความเพียร ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วย
อาการอย่างนี้
ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุนั้น มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้
ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วยอาการอย่างนี้”
[11] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชายผู้หลง
รัก มีจิตผูกพัน มีความรักร้อนแรง มีใจจดจ่อในหญิง เขาเห็นหญิงนั้นยืนคุยออด
อ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย)
โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) พึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น
เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่นบ้างไหม”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “พึงเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”