เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าววจีสมาจาร(ความประพฤติทางวาจา) ไว้ 2 ประการ คือ
1. วจีสมาจารที่ควรเสพ
2. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ
วจีสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวมโนสมาจาร(ความประพฤติทางใจ) ไว้ 2 ประการ คือ
1. มโนสมาจารที่ควรเสพ
2. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ
มโนสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวจิตตุปบาท(ความเกิดขึ้นแห่งจิต) ไว้ 2 ประการ คือ
1. จิตตุปบาทที่ควรเสพ
2. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ
จิตตุปบาททั้ง 2 ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวการได้สัญญาไว้ 2 ประการ คือ
1. การได้สัญญาที่ควรเสพ
2. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ
การได้สัญญาทั้ง 2 ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกัน
และกัน
เรากล่าวการได้ทิฏฐิไว้ 2 ประการ คือ
1. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ
2. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ
การได้ทิฏฐิทั้ง 2 ประการนั้นเป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :136 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ 2 ประการ คือ
1. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
2. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง 2 ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้
คือ
[110] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกาย
สมาจารไว้ 2 ประการ คือ
1. กายสมาจารที่ควรเสพ
2. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
กายสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า

กายสมาจาร 2 ประการ

[111] เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือ
เปื้อนเลือด ชอบฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :137 }