เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าววจีสมาจาร(ความประพฤติทางวาจา) ไว้ 2 ประการ คือ
1. วจีสมาจารที่ควรเสพ
2. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ
วจีสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวมโนสมาจาร(ความประพฤติทางใจ) ไว้ 2 ประการ คือ
1. มโนสมาจารที่ควรเสพ
2. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ
มโนสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวจิตตุปบาท(ความเกิดขึ้นแห่งจิต) ไว้ 2 ประการ คือ
1. จิตตุปบาทที่ควรเสพ
2. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ
จิตตุปบาททั้ง 2 ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวการได้สัญญาไว้ 2 ประการ คือ
1. การได้สัญญาที่ควรเสพ
2. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ
การได้สัญญาทั้ง 2 ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกัน
และกัน
เรากล่าวการได้ทิฏฐิไว้ 2 ประการ คือ
1. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ
2. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ
การได้ทิฏฐิทั้ง 2 ประการนั้นเป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :136 }