เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลย่อมไม่ถือตัวกับใคร ๆ ไม่ถือตัวในที่ไหน ๆ และ
ไม่ถือตัวด้วยเหตุไร ๆ (27)”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สัปปุริสสูตรที่ 3 จบ

4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและธรรมที่ไม่ควรเสพ

[109] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายที่ควรเสพ1
และไม่ควรเสพแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมบรรยายนั้น จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจาร(ความประพฤติทางกาย) ไว้ 2 ประการ
คือ
1. กายสมาจารที่ควรเสพ
2. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าววจีสมาจาร(ความประพฤติทางวาจา) ไว้ 2 ประการ คือ
1. วจีสมาจารที่ควรเสพ
2. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ
วจีสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวมโนสมาจาร(ความประพฤติทางใจ) ไว้ 2 ประการ คือ
1. มโนสมาจารที่ควรเสพ
2. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ
มโนสมาจารทั้ง 2 ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวจิตตุปบาท(ความเกิดขึ้นแห่งจิต) ไว้ 2 ประการ คือ
1. จิตตุปบาทที่ควรเสพ
2. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ
จิตตุปบาททั้ง 2 ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวการได้สัญญาไว้ 2 ประการ คือ
1. การได้สัญญาที่ควรเสพ
2. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ
การได้สัญญาทั้ง 2 ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกัน
และกัน
เรากล่าวการได้ทิฏฐิไว้ 2 ประการ คือ
1. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ
2. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ
การได้ทิฏฐิทั้ง 2 ประการนั้นเป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :136 }