เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 3. สัปปุริสสูตร

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา
ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ทรงจำวินัยนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำ
ข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (8)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นพระธรรมกถึก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรา
เป็นพระธรรมกถึก ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นพระธรรมกถึก’ เพราะความเป็น
พระธรรมกถึกนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นพระธรรมกถึก ธรรม
คือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือ
โมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นพระธรรมกถึก แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ
ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นพระธรรมกถึกนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติ
เท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (9)
[107] อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ถือการอยู่
ป่าเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ
ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร แต่
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้
ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนั้น
สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (10)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :129 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 3. สัปปุริสสูตร

อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้
ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น
อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป
หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม
เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ถือการทรง
ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (11)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้
ไม่เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึง
ความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการ
เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ
ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะ
ความเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้
ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (12)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :130 }