เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 2. ฉวิโสธนสูตร

อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ 6 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. จักขุ(ตา)คู่กับรูป 2. โสตะ(หู)คู่กับสัททะ(เสียง)
3. ฆานะ(จมูก)คู่กับคันธะ(กลิ่น) 4. ชิวหา(ลิ้น)คู่กับรส
5. กายคู่กับโผฏฐัพพะ 6. มโน(ใจ)คู่กับธรรมารมณ์

ท่านผู้มีอายุ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ 6 ประการนี้
ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ
เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ 6 ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่า ‘ท่านผู้มี
อายุ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
ความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ความอยาก ความยึดมั่น อุปาทาน และ
อนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นในจักขุ ในรูป ในจักขุวิญญาณ และใน
ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในโสตะ ในเสียง ในโสตวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในฆานะ ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
ความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ความอยาก ความยึดมั่น อุปาทาน และ
อนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ ท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็น
อยู่อย่างนี้จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะภายในและอายตนะ
ภายนอกอย่างละ 6 ประการนี้ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :120 }