เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 2. ฉวิโสธนสูตร

ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบพึงกล่าวชมว่า ‘เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมี
ในอริยศีล เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยสมาธิ เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยปัญญา
เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยวิมุตติ’
บุคคลผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า ‘เป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้
มีพระภาค เกิดแต่พระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิตแล้ว
เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นอามิสทายาท’ ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าว
ชอบพึงกล่าวชมว่า ‘เป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอษฐ์ของ
พระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็น
อามิสทายาท’
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคต
ประกาศไว้แล้วโดยลำดับ โดยชอบทีเดียว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อนุปทสูตรที่ 1 จบ

2. ฉวิโสธนสูตร
ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ 6 ประการ

[98] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :115 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 2. ฉวิโสธนสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘1 เธอทั้งหลายไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้านคำกล่าว
ของภิกษุรูปนั้น ไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้ว พึงถามปัญหาว่า ‘ท่านผู้มีอายุ โวหาร 4
ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว’
โวหาร 4 ประการ2 อะไรบ้าง คือ
1. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
2. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
3. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
4. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้
ท่านผู้มีอายุ โวหาร 4 ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ
ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในโวหาร 4
ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว3 บรรลุประโยชน์ตน4โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว5
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ‘ท่าน
ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในสิ่งที่ตนเห็นแล้ว มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ
กิเลสได้แล้วอยู่