เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 1. อนุปทสูตร

‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ ก็ธรรมในอากาสานัญจายตนะ คือ อากาสานัญจายตน-
สัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว
ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัด
อย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่
ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พราก
ได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตร
นั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์
มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (5)
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
สารีบุตรบรรลุวิญญาณัญจายตนะ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
ก็ธรรมในวิญญาณัญจายตนะ คือ วิญญาณัญจายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา
มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า
ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อัน
กิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น
มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัด
ทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำ
ธรรมนั้นให้มากขึ้น (6)
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง สารีบุตร
บรรลุอากิญจัญญายตนะ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนะ
คือ อากิญจัญญายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น
สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อม
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :113 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 1. อนุปทสูตร

ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้
อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้
ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ
ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้
มากขึ้น (7)
[95] อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
สารีบุตรบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เธอมีสติออกจากสมาบัตินั้นแล้ว
พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้วว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้
ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้
อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้
ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ
ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้
มากขึ้น (8)
[96] อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการ
ทั้งปวง สารีบุตรบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะ1
ทั้งหลายของเธอจึงสิ้นไป สารีบุตรนั้นมีสติออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณาเห็นธรรม
ที่ล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้วว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้ว
ย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ
กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมี
ความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (9)
[97] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า ‘เป็นผู้
ถึงวสี(ความชำนาญ) ถึงบารมี(ความสำเร็จ)ในอริยศีล เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีใน
อริยสมาธิ เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยปัญญา เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยวิมุตติ’