เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 1. เทวทหสูตร

‘กรรมใดให้ผลน้อย กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผลมาก’
ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
กรรมใดให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงอย่าให้ผล’ ด้วย
ความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’
‘กรรมใดไม่ให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผล’ ด้วย
ความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’

ความพยายามที่ไร้ผล ความเพียรที่ไร้ผล 10 ประการ

[8] นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า
1. กรรมใดให้ผลในชาตินี้ กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้
ผลในชาติหน้า’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
2. กรรมใดจะให้ผลในชาติหน้า กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า
‘จงให้ผลในชาตินี้’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
3. กรรมใดให้ผลเป็นสุข กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้
ผลเป็นทุกข์’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
4. กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้
ผลเป็นสุข’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
5. กรรมใดให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า
‘จงอย่าให้ผลเสร็จสิ้น’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :11 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 1. เทวทหสูตร

6. กรรมใดให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า
‘จงให้ผลเสร็จสิ้น’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
7. กรรมใดให้ผลมาก กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้
ผลน้อย’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
8. กรรมใดให้ผลน้อย กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้
ผลมาก’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
9. กรรมใดให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงอย่าให้ผล’
ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
10. กรรมใดไม่ให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ผล’
ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ความพยายาม ความเพียรของนิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงไร้ผล’
ภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์ทั้งหลายเป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่
กล่าวต่อ ๆ กันมา 10 ประการ ของนิครนถ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้
[9] ภิกษุทั้งหลาย คือ
1. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อนแน่ จึงเป็น
เหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้
2. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ถูกพระอิศวรชั้นต่ำเนรมิตมาแน่ จึงเป็น
เหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้
3. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์ทั้งหลาย
พึงเป็นผู้มีเคราะห์ร้ายแน่ จึงเป็นเหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า
เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :12 }