เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 10. จูฬปุณณมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
สังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณว่า ‘หลุด
พ้นแล้ว’ อริยสาวกย่อมรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”1
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่
ภิกษุประมาณ 60 รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล

มหาปุณณมสูตรที่ 9 จบ

10. จูฬปุณณมสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก

[91] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ คืนดวงจันทร์
เต็มดวง พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง
ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษหรือว่า
‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่อสัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็น
อสัตบุรุษ’ อนึ่ง อสัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษหรือว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ”
“ไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 10. จูฬปุณณมสูตร

“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่อสัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็น
สัตบุรุษ’
เพราะว่า อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม1 มีความภักดีต่ออสัตบุรุษ
มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ มีการ
กระทำอย่างอสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ให้ทานอย่างอสัตบุรุษ
อสัตบุรุษผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา(ความเชื่อ) ไม่มีหิริ(ความละอาย
ต่อบาป) ไม่มีโอตตัปปะ(ความเกรงกลัวบาป) มีสุตะน้อย(การได้ยินได้ฟังน้อย)
เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม
อสัตบุรุษผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม เป็นอย่างนี้ (1)
อสัตบุรุษผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
มีสุตะน้อย เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย
อสัตบุรุษผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (2)
อสัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมคิดเพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง
อสัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (3)
อสัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนผู้
อื่นบ้าง ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง
อสัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (4)