เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 10. สังคารวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ เรากล่าวความต่างกันแห่งสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน แม้จะปฏิญญาอาทิ-
พรหมจรรย์ได้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้ฟังตามกันมา เพราะการฟังตามกัน
มานั้นจึงเป็นผู้มีบารมีขั้นสุดท้าย เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์
เหมือนพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรเพท อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้มี
บารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์เพราะเพียงแต่ความเชื่อ
อย่างเดียว เปรียบเหมือนพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา1
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเองในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟัง
มาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้าย เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์
ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน จึงปฏิญญา
อาทิพรหมจรรย์ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราก็คนหนึ่ง
ภารทวาชะ ข้อนี้พึงรู้ได้ด้วยบรรยายแม้นี้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์เหล่าใด
รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้าย
เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน จึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เราก็คนหนึ่ง

พุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ
ในสำนักอาฬารดาบส

[475] ภารทวาชะ ก่อนการตรัสรู้ เรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้
ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทางมาแห่งธุลี การ
บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่เราอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 10. สังคารวสูตร

ในกาลต่อมา เรายังหนุ่มแน่นแข็งแรง มีเกศาดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อ
พระราชมารดาและพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้ผนวช มีพระพักตร์นองด้วย
น้ำพระเนตรทรงกันแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวัง
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วก็แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอัน
ประเสริฐ คือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร
แล้วกล่าวว่า
‘ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงกล่าวกับเราว่า ‘เชิญท่าน
อยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน เราก็เรียนรู้
ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวญาณ-
วาทะ1และเถรวาทะ2ได้ ทั้งเราและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้ เราห็น’ เราจึงคิดว่า
‘อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศธรรมนี้ ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า
‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร
ยังรู้ ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่านกาลามะ
ท่านประกาศธรรมนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร’
เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงประกาศอากิญจัญญายตน-
สมาบัติแก่เรา เราจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีศรัทธา
แม้เราก็มีศรัทธา มีวิริยะ... มีสติ... มีสมาธิ... มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร
เท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญเพียร เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นานเราก็บรรลุธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่