เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 9. สุภสูตร

เป็นประมาณ1ที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น2
คนแข็งแรงเป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง 4 ได้โดยไม่ยากเลย แม้ฉันใด เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้น
จักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นี้เป็นทาง
เพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม
มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ
มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ 1 อยู่ ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วย
อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว
กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น
มาณพ คนแข็งแรง เป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง 4 ได้โดยไม่ยาก แม้ฉันใด
เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว
กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม”
[472] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของ
โตเทยยพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม
แจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 9. สุภสูตร

ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่
ที่จะต้องทำอีกมาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ท่านจงกำหนดเวลาอันสมควร ณ บัดนี้เถิด”
ครั้งนั้น สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว
จากไป
สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิออกจากกรุงสาวัตถีด้วยรถเทียมด้วยม้าขาว
ปลอดตั้งแต่ยังวัน ได้เห็นสุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์เดินมาแต่ไกล
จึงได้ถามว่า “ท่านภารทวาชะ ท่านมาจากไหนแต่ยังวันเทียว”
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
มาจากสำนักของพระสมณโคดม”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ถามว่า “ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านภารทวาชะ
เห็นจะเป็นบัณฑิตรู้เท่าทันพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดมเป็นแน่”
สุภมาณพตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร และเป็นอะไรเล่า จึงจักรู้เท่า
ทันพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้ใดจะพึงรู้เท่าทันพระปัญญา
อันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้นั้นก็พึงเป็นเช่นพระสมณโคดมเป็นแน่”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ถามว่า “ได้ฟังว่า ท่านภารทวาชะสรรเสริญพระสมณ-
โคดม ด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง”
สุภมาณพตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร เป็นอะไรเล่า จึงจักสรรเสริญ
พระสมณโคดม ท่านพระสมณโคดมประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจึงสรรเสริญแล้วสรรเสริญอีก อนึ่ง ธรรม 5 ประการนี้ที่
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ พระสมณโคดม
ตรัสว่า เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :597 }