เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 9. สุภสูตร

ท่านพระโคดม ธรรม 5 ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ
เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต มีน้อยในคฤหัสถ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ธรรม 5 ประการ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่อ
อบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้พูดจริง เธอรู้สึกว่า ‘เราพูดจริง’ จึงได้ความรู้อรรถ
ได้ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์ ประกอบด้วยธรรม ความปราโมทย์อันประกอบ
ด้วยกุศลนี้ ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความ
เบียดเบียน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร
... เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ...
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มากด้วยการบริจาค เธอรู้สึกว่า ‘เราเป็นผู้มากด้วย
การบริจาค’ จึงได้ความรู้อรรถ ได้ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วย
ธรรม ความปราโมทย์อันประกอบด้วยกุศลนี้ ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน
ธรรม 5 ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความ
เบียดเบียน”
[470] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยย-
พราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้มาว่า
‘พระสมณโคดมทรงรู้จักทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสย้อนถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
บ้านนฬการคามก็ใกล้แค่นี้ บ้านนฬการคามก็อยู่ไม่ไกลจากที่นี้เลย มิใช่หรือ”
“อย่างนั้น ท่านพระโคดม บ้านนฬการคามก็อยู่ใกล้แค่นี้ บ้านนฬการคามก็อยู่
ไม่ไกลจากที่นี้เลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :594 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 9. สุภสูตร

“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้เจริญเติบโตในบ้านนฬการคามนี้
ออกจากบ้านนฬการคามไปในขณะนั้นถูกถามถึงทางไปบ้านนฬการคาม จะต้องมี
ความชักช้าหรืออึกอักไหม”
“ไม่ชักช้า ไม่อึกอักเลย ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษโน้น
เจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั่นเอง ต้องรู้จักทางของบ้านนฬการคามทุกแห่ง
เป็นอย่างดี”
“การที่บุรุษเจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั้น ถูกถามถึงทางไปบ้าน
นฬการคาม จะไม่ตอบชักช้าหรืออึกอัก เมื่อตถาคตถูกถามถึงพรหมโลกหรือ
ข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ตอบชักช้าหรืออึกอักเช่นเดียวกัน เรารู้จักพรหมโลก
และข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลกของพราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งยังรู้วิธีที่คนปฏิบัติอย่างไร
จึงจะเข้าถึงพรหมโลกด้วย”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้มาว่า พระสมณ-
โคดมทรงแสดงทางเพื่อเป็นสหายกับพรหม ขอโอกาส ขอท่านพระโคดมโปรดทรง
แสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

ทางไปพรหมโลก

[471] “มาณพ ทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ 1 อยู่ ทิศที่ 2 ...
ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบีบดเบียนอยู่ เมื่อภิกษุนั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :595 }