เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 8. วาเสฏฐสูตร

รูปร่างสัณฐานของพวกสัตว์เหล่านี้
ต่างกันตามกำเนิดมากมาย ฉันใด
แต่ในหมู่มนุษย์ ไม่มีรูปร่างสัณฐานแตกต่างกัน
ไปตามกำเนิดมากมาย ฉันนั้น
คือ ผมก็ไม่แตกต่างกัน
ศีรษะ ใบหู นัยน์ตา ใบหน้า จมูก ริมฝีปาก
คิ้ว คอ บ่า ท้อง หลัง สะโพก อก ซอกอวัยวะ
อวัยวะสืบพันธุ์ มือ เท้า นิ้วมือ เล็บ แข้ง ขาอ่อน
ผิวพรรณ หรือเสียงก็ไม่แตกต่างกัน
ในหมู่มนุษย์ จึงไม่มีรูปร่างสัณฐานตามกำเนิด
แตกต่างกันมากมายเหมือนในกำเนิดอื่น ๆ เลย
[457] ในหมู่มนุษย์ ในสรีระของแต่ละคน
ไม่มีความแตกต่างกันเฉพาะตัว
การเรียกกันในหมู่มนุษย์ เขาเรียกตามบัญญัติ
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า ชาวนา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยศิลปะหลายอย่าง
ผู้นั้นเรียกว่า ช่างศิลปะ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า พ่อค้า ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการรับใช้คนอื่น
ผู้นั้นเรียกว่า คนรับใช้ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :576 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 8. วาเสฏฐสูตร

วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยทรัพย์ที่ลักเขามาเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า โจร ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยลูกศร และศัสตราเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า ทหารอาชีพ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการเป็นปุโรหิต
ผู้นั้นเรียกว่า ผู้ประกอบพิธีกรรม ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามปกครองท้องถิ่นและแว่นแคว้น
ผู้นั้นเรียกว่า พระราชา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
เราไม่เรียกบุคคลผู้ถือกำเนิด
เกิดในครรภ์มารดาว่า เป็นพราหมณ์
ถ้าเขายังเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวลอยู่
เขาเป็นเพียงผู้ชื่อว่าโภวาทีเท่านั้น
เราเรียกผู้หมดกิเลสเครื่องกังวล
หมดความยึดมั่นถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์
[458] เราเรียกผู้ตัดสังโยชน์1ได้ทั้งหมด
ไม่หวาดสะดุ้ง พ้นจากกิเลสเครื่องข้อง
ปราศจากโยคะว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ตัดชะเนาะคือความโกรธ
ตัดเชือกคือตัณหา ตัดหัวเงื่อนคือทิฏฐิ 62