เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 6. เอสุการีสูตร

พราหมณ์ เราไม่กล่าวว่า ‘บุคคลต้องบำเรอสิ่งทั้งปวง’ แต่เราก็ไม่ปฏิเสธว่า
‘บุคคลไม่ต้องบำเรอสิ่งทั้งปวง’ เพราะว่า เมื่อบุคคลบำเรอสิ่งใดอยู่ ศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญาย่อมเจริญ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ เราจึงกล่าวว่า ‘บุคคลต้องบำเรอ
สิ่งนั้น”

ทรัพย์ 4 ชนิด

[440] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เอสุการีพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ 4 ชนิด คือ

1. บัญญัติทรัพย์ของพราหมณ์ 2. บัญญัติทรัพย์ของกษัตริย์
3. บัญญัติทรัพย์ของแพศย์ 4. บัญญัติทรัพย์ของศูทร

ในทรัพย์ 4 ชนิดนั้น พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของพราหมณ์คือการ
เที่ยวไปเพื่ออาหาร แต่พราหมณ์เมื่อดูหมิ่นทรัพย์คือการเที่ยวไปเพื่ออาหาร ชื่อว่า
เป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้ พราหมณ์
ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของพราหมณ์ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของกษัตริย์คือแล่งธนู แต่กษัตริย์เมื่อดูหมิ่น
ทรัพย์คือแล่งธนู ชื่อว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของมิได้ให้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของกษัตริย์ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของแพศย์คือกสิกรรมและโครักขกรรม แต่แพศย์
เมื่อดูหมิ่นทรัพย์คือกสิกรรมและโครักขกรรม ชื่อว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือน
คนเลี้ยงโคถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของแพศย์
ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของศูทรคือเคียวและไม้คาน แต่ศูทรเมื่อดูหมิ่น
ทรัพย์คือเคียวและไม้คาน ชื่อว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของมิได้ให้ ฉะนั้น พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของศูทรไว้เช่นนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :551 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 6. เอสุการีสูตร

ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์ไว้ 4 ชนิดนี้ ในเรื่องนี้
ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร”
[441] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ชาวโลกทั้งปวงเห็นด้วยกับ
คำนั้นว่า ‘พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ 4 ชนิดเท่านี้หรือ”
เอสุการีพราหมณ์ทูลตอบว่า “ไม่ใช่ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุรุษผู้ขัดสน ไม่มีทรัพย์สินสิ่งไรเป็น
ของตน ยากจน ชนทั้งหลายแขวนก้อนเนื้ออาบยาพิษไว้สำหรับเขาซึ่งไม่ชอบพอกัน
โดยแกล้งพูดว่า ‘พ่อคุณ เชิญท่านกินเนื้อนี้ แต่ต้องจ่ายค่าเนื้อเพิ่มขึ้น’ แม้ฉันใด
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ 4 ประเภท แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้นฝ่ายเดียว
โดยไม่มีฝ่ายอื่นยินยอม ฉันนั้นเหมือนกัน
แต่เราบัญญัติโลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะว่าเป็นทรัพย์ของบุคคล เมื่อเขาระลึกถึง
วงศ์ตระกูลเก่าอันเป็นของมารดาบิดา อัตภาพเกิดในวงศ์ตระกูลใด ๆ ก็นับตามวงศ์
ตระกูลนั้น ๆ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลกษัตริย์ก็นับว่า ‘เป็นกษัตริย์’ ถ้าอัตภาพเกิด
ในตระกูลพราหมณ์ก็นับว่า ‘เป็นพราหมณ์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลแพศย์ก็นับว่า
‘เป็นแพศย์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลศูทรก็นับว่า ‘เป็นศูทร’ เปรียบเหมือนไฟอาศัย
เชื้อใดๆ ติดขึ้นก็นับตามเชื้อนั้น ๆ ถ้าไฟอาศัยไม้ติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟไม้’ ถ้าอาศัย
หยากเยื่อติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟหยากเยื่อ’ ถ้าอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟหญ้า’
ถ้าอาศัยมูลโคติดขึ้นก็นับว่า ‘เป็นไฟมูลโค’ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน บัญญัติ
โลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะว่าเป็นทรัพย์ของบุคคล เมื่อเขาระลึกถึงวงศ์ตระกูลเก่าอันเป็น
ของมารดาบิดา อัตภาพเกิดในตระกูลใด ๆ ก็นับตามตระกูลนั้น ๆ ถ้าอัตภาพเกิดใน
ตระกูลกษัตริย์ ก็นับว่า ‘เป็นกษัตริย์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ ก็นับว่า
‘เป็นพราหมณ์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลแพศย์ ก็นับว่า ‘เป็นแพศย์’ ถ้าอัตภาพเกิด
ในตระกูลศูทร ก็นับว่า ‘เป็นศูทร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :552 }